อนุสัญญา CITES และโรงพยาบาลสัตว์ เรื่องสำคัญของคนอยากเลี้ยง Exotic Pet

โรงพยาบาลสัตว์

                หลายปีมานี้ Exotic Pet หรือสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ ได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้านของหลายครอบครัว แต่ภายใต้กระแสความนิยมเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ ก็มีข่าวน่าเศร้ออกมาให้เห็นอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ถูกทิ้ง สัตว์ถูกทำร้าย เจ้าของถูกจับจากการนำเข้าสัตว์ ทำให้สัตว์ต้องถูกนำไปดูแลต่อโดยหน่วยงานรัฐ หรือสัตว์ตายจากการดูแลเอาใจใส่ที่ไม่ดีพอของคนเลี้ยง

                สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าคนเลี้ยง Exotic Pet จำนวนไม่น้อย ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ดีพอ บทความนี้จึงได้รวบรวมสาระสำคัญที่คนเลี้ยง Exotic Pet ควรรู้ อย่างอนุสัญญา CITES และโรงพยาบาลเพื่อ Exotic Pet มาฝากกัน

รู้จักอนุสัญญา CITES ก่อนนำเข้า Exotic Pet

            Exotic Pet ที่คนนิยมเลี้ยงกัน ส่วนใหญ่เป็นสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สัตว์ป่า หรือเป็นสัตว์ที่ต้องได้รับอนุญาตในการเพาะพันธุ์ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจนำเข้าสัตว์มาเลี้ยง ผู้เลี้ยงควรศึกษาอนุสัญญา CITES ให้ดีเสียก่อน

                อนุสัญญา CITES หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) เป็นความตกลงระดับนานาชาติระหว่างรัฐบาลของประเทศต่างๆ รวม 184 ประเทศทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ จะไม่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม

ซึ่งในอนุสัญญา CITES จะแบ่งสัตว์ออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  • สัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษา แต่ต้องได้รับอนุญาตจากประเทศที่จะนำเข้าก่อน เช่น กระทิง ชะนี ช้าง เนื้อทราย เต่ามะเฟือง นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นต้น
  • สัตว์ป่าที่อนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยประเทศส่งออกต้องทำหนังสืออนุญาตชัดเจน เช่น นกยูง เหยี่ยวขาว ลิงแสม เสือปลา เป็นต้น
  • ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด เช่น หมาจิ้งจอก (Canis aureus) ชะมดแผงสันหางดำ (Viverra megaspila) งูแมวเซา (Vipera russellii) เป็นต้น

                เมื่อทราบว่าสัตว์ที่คุณอยากเลี้ยงอยู่ในหมวดหมู่ไหน ให้ศึกษาการทำเอกสารนำเข้าเพิ่มเติมได้จากคู่มือการขออนุญาตนำเข้า ส่งออก และนำผ่านซึ่งสัตว์ป่าตามอนุสัญญาไซเตส กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา https://cites.dnp.go.th/npd_app/npd_cites/homepage/manual.php และดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน

มองหาโรงพยาบาลสัตว์เฉพาะทางเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์เลี้ยง

            นอกจากอนุสัญญา CITES ที่ต้องทำความเข้าใจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ โรงพยาบาลสัตว์เฉพาะทางที่สามารถให้การรักษา Exotic Pet ได้ เพราะแน่นอนว่าการจะเลี้ยงสัตว์ชนิดพิเศษสักหนึ่งตัว คงไม่ใช่แค่นำเข้า และให้อาหารแล้วจบไป แต่ต้องดูแลใส่ใจตลอดการมีชีวิตอยู่ เริ่มตั้งแต่การฉีดวัคซีนในวัยเด็ก และการรักษายามเจ็บป่วย จนถึงช่วงบั้นปลาย โดยเฉพาะกับสัตว์นำเข้าต่างถิ่น ที่ไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมประเทศไทยเหมือนกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

ดูแลครบจบที่โรงพยาบาลสัตว์ PREMIER PET HOSPITAL

                สำหรับเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีโรงพยาบาลสัตว์ที่รับดูแลรักษา Exotic Pet โดยเฉพาะ เช่น กระต่าย นกสวยงาม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ปลา เต่า สัตว์เลื้อยคลาน และอื่นๆ อีกมากมาย นั่นคือ PREMIER PET HOSPITAL

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 083–064-1980, 063-727-3070

Website: https://premierpet.clinic/

E-mail: premierpethospital@gmail.com

Line: @premierpet