Fake News เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ข่าวปลอม

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่เล่นโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือยูทูบ ที่เป็นสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ และเมื่อพูดถึงสังคมออนไลน์ จะว่าไปหก็มีทั้งขั้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ และบางทีสื่อที่เราติดตามตามช่องทางของโซเชียมีเดีย ก็อาจจะมีอะไรบิดเบือนความเป็นจริงอยู่เช่นกัน ที่เราเรียกกันว่า Fake News ที่กำลังระบาดหนักในขณะนี้ 

และเพื่อไม่ให้คุณตกเป็นเหยื่อของ Fake News เราจะมาทำความรู้จักในเรื่องนี้กันก่อน ว่าข่าวปลอมต่างๆ ที่เกิดในสื่อออนไลน์นั้นมีแบบไหนบ้าง เพื่อที่ในการใช้งานนต่อๆ ไป จะได้ระวังตัวให้มากยิ่งขึ้น

Fake News อันตรายอย่างไร

ความเสี่ยงของการดู Fake News หรือข่าวปลอมนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดมากนัก แต่จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อเราเป็นคนแชร์ข่าวเหล่านั้นเข้าสู่บัญชีของเรา ซึ่งถือว่าเป็นการสนับสนุนข่าวปลอม มีความเสี่ยงที่จะได้รับโทษตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องดูให้ดีก่อนที่จะแชร์ว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม

วิธีสังเกตว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) หรือไม่

1.หัวข้อข่าว

การพาดหัวข่าวที่โอเวอร์เกินจริง ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการเรียกความสนใจให้กับคนอ่าน ได้เข้าไปดูข้างในเว็บไซต์ เพื่อที่ทางเว็บจะได้ผลประโยชน์ ทั้งที่ความจริงแล้วในเนื้อหาข่าวไม่ได้มีอะไรตรงกับหัวข้อเลย อันนี้ก็ถือว่าเป็น Fake News เช่นกัน

2.ที่มาของข่าว

ที่มาของข่าวจะต้องมีความน่าเชื่อถือ เช่น เป็นสำนักข่าวขนาดใหญ่ หรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีการรับรองคำพูดมาแล้ว ไม่ใช่โมเมขึ้นมาเอง หากที่มาดูแปลกๆ ให้รู้ไว้เลยว่ามีโอกาสที่จะเป็นข่าวปลอมได้

3.ชื่อเว็บแปลกๆ 

ชื่อเว็บที่เป็นข่าวปลอม มักจะมีการลอกเลียนแบบชื่อให้คล้ายกับสำนักข่าวใหญ่ๆ เพื่อที่คนมองไม่ละเอียดจะได้เข้าใจว่าเป็นสำนักข่าวของจริง โดยจะใช้การสะกดผิดบ้าง หรือเปลี่ยนโลโก้ของเว็บไซต์ให้ใกล้เคียงบ้าง ฉะนั้นการดูชื่อเว็บหรือลิงค์ข่าวต่างๆ ต้องดูให้ชัดเจนทุกครั้ง

4.การสะกดคำ

ถ้าเป็นสำนักข่าวใหญ่ๆ เวลาที่จะเผยแพร่บทความหรือว่าปล่อยข่าวอะไรออกมา จะต้องมีการพิสูจน์อักษรก่อนทุกครั้ง ว่าสะกดถูกต้องตามหลักพยัญชนะหรือไม่ ถ้าเป็นข่าวปลอมจะดูได้ง่ายๆ เลยว่ามีคำผิดเยอะมาก เพราะข่าวพวกนี้รีบทำแล้วก็รีบแชร์ ไม่ไดมีการตรวจสอบก่อน

5.รูประกอบ

ข่าวที่เป็นข่าวปลอม เวลาที่จะใช้รูปภาพอ้างอิง ส่วนใหญ่จะหาจากกูเกิลนั่นแหละ เพราะไม่มีปัญญาจะไปหาภาพจากต้นทางได้อย่างไร หากเป็นข่าวจริงจะต้องมีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง และต้องถ่ายเองเท่านั้น

6.เว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ

หากคุณเคยเข้าเว็บของสำนักข่าวจะรู้เลยว่าเว็บพวกนี้ไม่มีอะไรเกะกะหน้าเว็บมากนัก แต่ถ้าเป็นเว็บพวก Fake News จะเห็นว่ามีโฆษณาอะไรแปลกอยู่เยอะ เช่น พวกพนันออนไลน์ หรือสื่อลาดมกต่างๆ ให้รู้ไว้เลยว่าเว็บเหล่านั้นคือเว็บปลอม

 ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีการสังเกตดูว่าข่าวไหนเป็นข่าวปลอม หากยังไม่มั่นใจก็ไม่ต้องแชร์ดีกว่า จะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลัง และถ้าเจอเว็บไซต์เหล่านี้อย่าเข้าไปเด็ดขาด เพราะว่าอุปกรณ์ของคุณมีความเสี่ยงจะโดนไวรัสได้ง่ายๆ ทำให้เครื่องพังได้เลย