ป้ายทางหนีไฟติดตั้งอย่างไร ให้ได้มาตรฐาน

ป้ายทางหนีไฟ

มาตรฐานในการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟหรือป้ายทางหนีไฟ จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้ประกอบการหรือเจ้าของอาคารสถานที่ทุกแห่งหน เช่น โรงแรม สถานพยาบาลห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ จะต้องปฏิบัติตาม ในภาพรวมแล้วมีความคล้ายคลึงกัน โดยมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างที่ต่างกันออกไป

การติดตั้งป้ายทางหนีไฟ 

  • การติดตั้งป้ายทางหนีไฟ โดยให้ติดตั้งในบริเวณที่ใกล้ทางออกสู่ทางหนีไฟและประตูที่อยู่ในเส้นทางมากที่สุดโดยติดตั้งเหนือประตูที่อยู่บนเส้นทางไปสู่ทางหนีไฟทุกบาน ที่สำคัญเลยก็คือจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากทุกทิศทางด้วย
  • ป้ายทางหนีไฟจะต้องไม่ใช้รูปร่างหรือสีที่มองดูแล้วกลมกลืนกับการตกแต่งของอาคารหรือกลมกลืนกับป้ายชนิดอื่นๆ ที่ติดตั้งไว้ใกล้เคียงกันเพราะอาจส่งผลทำให้การมองเห็นป้ายนั้นไม่ชัดเจน
  • ป้ายทางหนีไฟจะต้องมีสัญลักษณ์แสดงทิศทางการหนีไฟด้วยสัญลักษณ์รูปคนวิ่งและมีข้อความทั้งภาษาไทยรวมถึงภาษาอังกฤษว่าทางออกหรือทางหนีไฟหรือ“Exit” อย่างชัดเจน
  • การติดตั้งป้ายทางหนีไฟ แนะนำให้จัดวางตำแหน่งของป้าย ถ้าป้ายขนาด 10 เซนติเมตรจะต้องติดตั้งภายในระยะ 24 เมตร หรือขนาด 15 ซม ติดตั้งในระยะ 36 เมตรและขนาด 20 เซนติเมตรจะต้องติดตั้งระยะห่าง 48 เมตร 
  • การติดตั้งป้ายทางหนีไฟ มีข้อยกเว้นสำหรับพื้นที่ที่ไม่ต้องติดตั้ง ยกตัวอย่างเช่น ห้องที่มีพื้นที่ทางออกหนีไฟหรือทางเดินไปสู่ทางออกหนีไฟเพียงทางเดียว บริเวณประตูเข้า-ออกหลักของอาคารหรือประตูนอกอาคารที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นทางออกหนีไฟอยู่แล้ว ซึ่งได้รับการรองรับโดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาคาร เป็นต้น

ขอเสริมในส่วนของมาตรฐานและข้อกำหนด เรื่องการส่องสว่างของป้ายทางหนีไฟ โดยมีการกำหนดให้ป้ายทางหนีไฟจะต้องส่องสว่างจากด้านในหรือด้านนอกอยู่ตลอดเวลา ส่องสว่างตลอด 24 ชั่วโมง การออกแบบการส่องสว่างต้องติดตั้งตามวิธีการที่กำหนดจากผู้ผลิต ห้ามมีการดัดแปลงหรือทำการแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น แผ่นหน้าของป้ายทางหนีไฟที่ได้รับแสงสว่างจากแหล่งภายนอกต้องมีค่าความสว่าง 54 ลักซ์ขึ้นไป

แหล่งพลังงานไฟและแสงสว่างต้องมาจากแหล่งไฟฟ้าปกติแยกจากวงจรอื่นๆ ในกรณีไฟฟ้าดับจำเป็นจะต้องมีแหล่งให้พลังงานแสงสว่างสำรองติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 90 นาที สำหรับอาคารใหญ่ต้องไม่น้อยกว่า 120 นาทีและจะต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงานของป้ายทางหนีไฟและระบบการให้แสงสว่างทุกๆ 3 เดือนด้วย

การตรวจสอบระบบการทำงานของไฟและการส่องสว่างนั้นจะต้องทดสอบไฟสำรองเป็นเวลา 60 นาที รวมถึงการตรวจสอบประจุของแบตเตอรี่เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ สิ่งหนึ่งที่สำคัญของป้ายทางหนีไฟก็คือการเลือกซื้อป้ายทางหนีไฟที่ได้รับมาตรฐานมอก เพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามข้อกำหนดในกฎหมายอย่างแน่นอนโดยที่คุณจะได้ไม่ต้องกังวลใดๆ